หลังจากที่ Intel ออกCPU สำหรับอุปกรณ์พกพาในชื่อว่า Atom ไปเรียบร้อยแล้วนั้น กระแสก็ออกมาแรงเห็นๆ ทั้งกลุ่มผู้ผลิตมากมายก็เจาะตลาดขาย Netbook กันอย่างล้นหลาม Intel นั้นมีตำนานในการผลิต Microprocessor ตั้งแต่ใช้ในเครื่องคิดเลข และพัฒนาต่อยอดขึ้นมาอย่างไม่หยุดยั้ง ซึ่งทำให้เห็นว่าศักยภาพของการพัฒนาที่ไม่มีที่สิ้นสุดนั้น ทำให้เราได้ใช้เทคโนโลยีอย่างไร้ขีดจำกัด อยู่ที่ว่าเงินในกระเป๋าเราจะมีแค่ไหน ที่นี่เรามาย้อนดูวิวัฒนาการตั้งแต่ ปี 1971 จนถึงปัจจุบันกัน
1971 : 4004 Microprocessor รุ่นแรกของ Intel ใช้งานในเครื่องคิดเลข
1972 : 8008 Microprocessor รุ่นที่พัฒนาต่อมา ใช้งานแบบ "TV typewriter" กับ dump terminal
1974 : 8080 Microprocessor รุ่นนี้เป็นการใช้งานแบบ Personal Computer รุ่นแรก ๆ
1978 : 8086-8088 Microprocessor หรือรุ่น XT ยังเป็นแบบ 8 bit เป็น PC ที่เริ่มใช้งานจริงจัง
1982 : 80286 Microprocessor หรือรุ่น AT 16 bit เริ่มเป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานแพร่หลายกันแล้ว
1985 : 80386 Microprocessor เริ่มเป็น CPU 32 bit และสามารถทำงานแบบ Multitasking ได้
1989 : 80486 Microprocessor เข้าสู่ยุคของการใช้จอสี และมีการติดตั้ง Math-Coprocessor ในตัว
รุ่นแรกๆ ทาง Intel ใช้ชื่อรุ่นเป็นรุ่นของ CPU นั้นๆเลยจึงเกิดการเลียนแบบเทคโนโลยีกันขึ้นโดยค่ายอื่นได้ผลิตเทคโนโลยีตามหลังIntelมาเรื่อยๆ ต่อมาทาง Intel ได้ใช้ชื่อ Pentium แทน 80486 เนื่องจากการที่ ชื่อสินค้าที่เป็นตัวเลขกฏหมายไม่ยอมให้จดลิขสิทธิ์ จึงเป็นที่มาของชื่อ Platform ต่างๆ
1993 : Pentium Processor ยุคแรกที่ Intel ใช้ชื่อว่า Pentium
1995 : Pentium Pro Processor สำหรับเครื่อง Server และ Work Station โดยต่อมาได้ผลิตเทคโนโลยี
MMX และทำเป็น Intel MMX
1997 : Pentium II Processor รวมเ Technology ของ Pentium Pro คือ มี cache ระดับ 2 รวมอยู่บน
package เดียวกับ CPU กับ Technology MMX ไว้ด้วยกัน แล้วทำการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายใน
1998 : Pentium II Xeon(TM) Processor สำหรับ Server และ Work Station
1999 : Celeron(TM) Processor สำหรับตลาดระดับล่างของ Intel ที่ตัดความสามารถบางส่วนออก เพื่อลด
ต้นทุนการผลิต และ สามารถขายได้ในราคาที่ถูกกว่า Pentium II มาก แต่ถึงแม้ Celeron ที่ออกมา
นั้น จะใช้ในงานด้าน เล่นเกมส์ได้ดี แต่กลับงานประเภท office application กลับทำได้แย่กว่า หรือ
พอพอกับ Pentium MMX
1999 : Pentium III Processor เพิ่มชุดคำสั่งที่ช่วยประมวลผลในด้านต่างๆไปใหม่ ในลักษณะของ MMX
1999 : Pentium III Xeon(TM) Processor สำหรับ Server และ Work Station
2001 : Pentium 4 Processor มีเทคโนโลยี HT ทำให้การใช้งานทีละหลายโปรแกรมได้ดีขึ้น
2003 : Pentium M ส่วนใหญ่ใช้ใน mobile technology เนื่องจากใช้กำลังไฟฟ้าน้อย
2005 : Pentium D มีการใช้สถาปัตยกรรมแบบ Multi-core เพิ่มเข้ามาโดยมี2 coreแต่ละ core จะเป็นอิสระ
ต่อกัน
2006 : Intel Core duo นี่แหละครับพระเอกของเรา ต่างกับ Pentium D ตรงที่มีการแชร์ 2 core ด้วยกัน
(dual core)
2006 : Intel Core 2 Duo รองรับชุดคำสั่ง 64 bit และยังประหยัดพลังงานมากขึ้นด้วย
2006 : Intel Core 2 Extreme QX6700 คือ มี 4 core
2006 : Yorkfield คือ 8 core
วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
กฎของ Moore's law
กฎของมัวร์ (Moore's law) อธิบายถึง ปริมาณของทรานซิสเตอร์บนวงจรรวม โดยจะเพิ่มเป็นเท่าตัวประมาณทุก ๆ สองปี กฎนี้ได้ถูกพิสูจน์อย่างต่อเนื่องมาแล้วกว่าครึ่งศตวรรษ และคาดว่าจะใช้ได้จนถึงปี 2015 หรือ 2020 หรืออาจมากกว่านั้น
ความสามารถของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มากมาย เป็นไปตามกฎของมัวร์อย่างเห็นได้ชัด เช่น ความเร็วประมวณผล ความจุของแรม เซ็นเตอร์ หรือแม้แต่จำนวนพิกเซลของกล้องดิจิทัล ทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลสนับสนุนอย่างคร่าว ๆ (ยังมีกฎอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเช่นราคาต่อหน่วย) การพัฒนาของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ มีผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ กฎของมัวร์ได้อธิบายแรงการขับเคลื่อนของเทคโนโลยี ตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 20 ไปจนถึงต้นศตวรรษที่ 21
ชื่อของกฎถูกตั้งตามชื่อของ อดีตซีอีโอ และผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท อินเทล กอร์ดอน มัวร์(Gordon E. Moore) เขาได้อธิบายกฎนี้ไว้ในรายงานของเขาเมื่อปี 1965 รายงานนั้นได้ระบุไว้ว่า จำนวนของส่วนประกรอบในวงจรรวมจะเพิ่มเป็นเท่าตัวทุก ๆ ปี ตั้งแต่ปี 1958 ไปจนถึง 1965 และคาดว่าจะเป็นอย่างนี้ไปอีก "อย่างน้อยสิบปี" การทำนายของเขายังเป็นไปตามที่คาดไว้อย่างน่าประหลาดใจ อย่างน้อยกฎนี้ปัจจุบันยังถูกใช้ในอุตสาหกรรมสารกึ่งตัวนำที่ได้ถูกใช้เป็นแนวทางของแผนที่จะเป็นเป้าหมายของของการวิจัย และพัฒนา
วันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
การแทนข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์
SITTICHAI SEKPATHAN
ใช้พื้นที่ 19ไบต์ และประกอบด้วยรหัส ASCII ฐาน 2,16 ดังนี้
- S = (0101 0011)2 = (53)16
- I = (0100 1001)2 = (49)16
- T = (0101 0100) 2 = (54)16
- T = (0101 0100) 2 = (54)16
- I = (0100 1001) 2 = (49)16
- C = (0100 0011) 2 = (43)16
- H = (0100 1000) 2 = (48)16
- A = (0100 0001) 2 = (41)16
- I = (0100 1001) 2 = (49)16
- SPACE = (0100 0000) 2 = (20)16
- S = (0101 0011) 2 = (53)16
- E = (0100 0101) 2 = (45)16
- K = (0100 1011) 2 = (4B)16
- P = (0101 0000) 2 = (50)16
- A = (0100 0001) 2 = (41)16
- T = (0101 0100) 2 = (54)16
- H = (0100 1000) 2 = (48)16
- A = (0100 0001) 2 = (41)16
- N = (0100 1110) 2 = (4E)16
เทคโนโลยีสมัยใหม่
“เอซุส” เปิดตัว โน้ตบุ๊กผลงานการออกแบบชิ้นเอกจาก “เจย์ โชว์” เตรียมบุกตลาดไทย ก.ค. นี้ จำกัดเพียง 1,000 เครื่องเท่านั้น นอกจากนี้้ยังเปิดตัวโน้ตบุ๊ก ROG G74Sx 3D พร้อมฟีเจอร์โอเวอร์คล็อก…
นายจอนนี่ ฉี ประธานกรรมการบริหาร บริษัท อัสซุส ประเทศไต้หวัน กล่าวว่า ส่วนตัวรู้สึกภูมิใจอย่างยิ่งที่นักร้องและนักแต่งเพลงผู้มีความสามารถอย่างเจย์ โชว์ ได้ให้เกียรติมาเป็นผู้สร้างสรรค์ดีไซน์ใหม่ของโน้ตบุ๊ก N Series Special Edition ที่โดดเด่นด้วยการผสมผสานความงดงามแบบดั้งเดิมและดีไซน์สมัยใหม่ โดยเจย์ โชว์ ได้รังสรรค์จินตนาการและความหลงใหลในเสียงดนตรีออกแบบผลงานชิ้นนี้ โดยได้แรงบันดาลใจจากตัวโน้ตดนตรี บทเพลง เปียโนและสัญลักษณ์ทางดนตรีต่างๆ สู่การผสมผสานดีไซน์ตัวอักษรสมัยใหม่แบบ J-style เข้ากับลวดลายเครื่องกระเบื้องสีน้ำเงินและสีขาวแบบจีนโบราณ ที่ถ่ายทอดความแข็งแกร่งและความหลากหลายแห่งศิลปะเอเชียได้เป็นอย่างดี”
นายพรเทพ วัชรอำนวย กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอซุสเทค คอมพิวเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า บริษัทวางแผนจะนำโน้ตบุ๊ก N Series Special Edition ที่ออกแบบโดยเจย์ โชว์ เข้ามาทำตลาดเมืองไทย ประมาณเดือนกรกฎาคมนี้ แต่จะเป็น Limited Edition จำนวนเพียง 1,000 เครื่องในประเทศไทยเท่านั้น ซึ่งเชื่อมั่นว่าจะสร้างกระแสตลาดโน้ตบุ๊กในไตรมาสที่ 3 ให้คึกคักยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่รักและชื่นชอบในตัวเจย์ โชว์ รวมถึงคอไอทีแฟนพันธุ์แท้ของตระกูล N series จะไม่ผิดหวังกับคุณสมบัติที่มากับเครื่องรุ่นนี้อย่างแน่นอน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)